วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วิชาภาษาไทย





๑.ความหมายของปริศนาคำทายปริศนาคำทาย หมายถึง ปัญหาหรือคำถามซึ่งผู้ถามอาจจะถามตรง ๆ หรือถามทางอ้อมก็ตาม คำถามอาจจะใช้ถ้อยคำธรรมดาเป็นภาษาร้อยแก้ว หรือจะมีสัมผัสแบบภาษาร้อยกรองก็ได้ ภาษาที่ใช้นั้นเป็นภาษาสั้น ๆ ง่าย ๆ กระชับความ แต่ยากแก่การตีความในตัวปริศนาอยู่บ้าง ส่วนคำไข (คำตอบ) มักจะเป็นสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันในสมัยนั้น ๆ และในบางคำถามมักจะมีเค้าหรือแนวทางสำหรับคำตอบ ซึ่งผู้ตอบจะต้องใช้ความสังเกต ความคิดและไหวพริบในการคิดหาคำตอบ
๒. ที่มาของปริศนาคำทายปริศนาคำทาย เกิดจากความต้องการลองภูมิปัญญากัน จึงมีการทายปริศนา ในสมัยก่อนนิยมเล่นกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มักจะเล่นกันในยามว่างจากการทำงาน
๓. ลักษณะของปริศนาคำทาย
๓.๑ นิยมใช้คำคล้องจอง ซึ่งบ่งบอกถึงความเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน ทำให้จดจำได้ง่าย
๓.๒ ไม่นิยมถามตรง ๆ แต่จะใช้สิ่งเปรียบเทียบ
๓.๓ มีการท้าทายให้ผู้ไขปริศนาพยายามคิด
๔. ประเภทของปริศนาคำทาย
๔.๑ ปริศนาคำทายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น อะไรเอ่ยเขียวชอุ่มพุ่มไสวไม่มีใบมีแต่เม็ด=ฝน
๔.๒ ปริศนาคำทายเกี่ยวกับพืช เช่น อะไรเอ่ยต้นเท่าครกใบปรกดิน= ตะไคร้
๔.๓ ปริศนาคำทายเกี่ยวกับสัตว์ อะไรเอ่ย สี่เท้าเดินมาหลังคามุงสังกะสี = เต่า
๔.๔ ปริศนาคำทายเกี่ยวกับอาชีพ อะไรเอ่ย ข้างโน้นก็เขาข้างนี้ก็เขาเรือสำเภาแล่นตรงกลาง = กี่ทอผ้า
๔.๕ ปริศนาคำทายเกี่ยวกับอวัยวะ อะไรเอ่ยไม่ใกล้ไม่ไกลมองเห็นรำไร = จมูก
๔.๖ ปริศนาคำทายเกี่ยวกับศาสนา-ประเพณี อะไรเอ่ย หัวเป็นหนามถามไม่พูด = พระพุทธรูป
๔.๗ ปริศนาคำทายเกี่ยวกับวรรณกรรม พระรามชอบสีอะไร = สีดา
๔.๘ปริศนาคำทายเกี่ยวกับเชาว์ปัญญา อะไรอยู่บนฟ้า = วรรณยุกต์โท
๕. วิธีการเล่นปริศนาคำทายบรรดาสมาชิกในครอบครัวหรืออาจจะมีเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงมาร่วมด้วยก็ได้ จะนั่งล้อมวงกันหรือนั่งตามสบาย ผู้ทายจะผลัดกันทายแล้วแต่ใครจะคิดปัญหาได้ ถ้ามีผู้ตอบถูกผู้ตอบมีสิทธิลงโทษผู้ทายตามแต่จะตกลงกัน และเช่นเดียวกันหากผู้ตอบตอบผิด ผู้ทายก็มีสิทธิลงโทษผู้ตอบ เมื่อปฏิบัติตามกฏ ก็เริ่มต้นทายปริศนาใหม่ต่อไป
๖. ประโยชน์ที่ได้รับ
๖.๑ ผู้เล่นได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน
๖.๒ ฝึกให้ผู้เล่นเป็นผู้มีนิสัยช่างสังเกต ช่างคิด
๖.๓ ผู้เล่นจะได้รับความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น สำนวนภาษา สังคมวิทยา และธรรมชาติวิทยา
๖.๔ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
๗. แหล่งเรียนรู้
๗.๑ หนังสือคติชนวิทยา ภาษากับวัฒนธรรม (อจท)
๗.๒ http://www.thaifolk.com/doc/riddle.htmรวบรวมโดย อ.ภาทิพ ศรีสุทธิ์ อ.สุกานดา ปาลิโพธิ หมวดวิชาภาษาไทยโรงเรียนสุราษฎร์ธานี
ตัวอย่างปริศนาคำทายจากเว็บ http://www.thaifolk.com/doc/riddle.htm




ปริศนาคำทาย
function fillDescriptionBox(i,title){
document.forms[i].titleBox.value=title;
}

1. อะไรเอ่ย กาก็ไม่ใช่ แร้งก็ไม่ใช่ บินเคว้ง ๆ อยู่ข้างเขา

2. อะไรเอ่ย มันดำเหมือนกา บินมาเหมือนนก มีหนามที่ตานกอะไร

3. อะไรเอ่ย สองหัตถ์ ยกป้องพักตรา มีแปดบาทา พาข้างจรดล

4. อะไรเอ่ย เขียวเหมือนพระอินทร์ บินเหมือนนก มีศรปักอก ว่านกก็ไม่ใช่

5. อะไรเอ่ย รี ๆ เหมือนใบพลู ตรงกลางมีรู ข้าง ๆ มีขน

6. อะไรเอ่ย ชื่ออยู่ในดิน ตัวบินบนเวหา

7. อะไรเอ่ย สองตีนบังแดด แปดตีนเดินมา

8. อะไรเอ่ย ชื่อยู่ในครัว ตัวอยู่ในป่า

9. อะไรเอ่ย สี่ตีนเดินมา หลังคามุงกระเบื้อง

10. อะไรเอ่ย บินมาเหมือนนก สองมือกุมอก นกก็ไม่ใช่

11. อะไรเอ่ย ทอดแหในอากาศ คอยพิฆาตแมลง

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

นวัตกรรมใหม่ของ Nokia โทรศัพท์มือถือยืดยุ่น

นวัตกรรมใหม่ของ Nokia โทรศัพท์มือถือยืดหยุ่น(ยืด หอ โค้งงอ ได้ตามต้องการ)
วิวัฒนาการด้านนาโนเทคโนโลยี ช่วยให้เกิดการพัฒนารูปแบบใหม่ของโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีความยืดหยุ่น สามารถยืดหดและโค้งงอได้ นับเป็นนวัตกรรมใหม่ของ Nokia โทรศัพท์รุ่นดังกล่าวชื่อว่า Morph ได้ถูกนำไปแสดงในนิทรรศการ New Design and Elastic Mind ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะแขนงใหม่ (Museum of Modern Art: MoMA) ในนครนิวยอร์ค
โดยนิทรรศการดังกล่าวจัดระหว่าง 24 กุมภาพันธ์ ถึง 12 พฤษภาคม 2008 แนวคิดในการประดิษฐ์โทรศัพท์มือถือยืดหดที่มีความยืดหยุ่นได้นี้ เป็นของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ร่วมกับศูนย์วิจัยของ Nokia ซึ่งเริ่มต้นวิจัยมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2007 การคิดค้น Nokia Morph เป็นการผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์ด้านนาโนเทคโนโลยี และศิลปะการออกแบบที่เหมาะสมกับการใช้งานจริงในอนาคตMorph เป็นต้นแบบของโทรศัทพ์มือถือในอนาคตที่สามารถยืดหด และดัดไปมาเป็นรูปร่างต่างๆในแนวโค้งได้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนรูปร่างของมันได้หลากหลายเพื่อการใช้งานทั้งเป็นโทรศัพท์ แถบรัดข้อมือ นาฬิกาข้อมือ หรือแม้แต่หูฟัง(hand free)
วัสดุที่นำมาผลิตใช้หลักการของนาโนเทคโนโลยี ซึ่งต้องเป็นวัสดุที่ยืดหยุ่น โปร่งใสให้เห็นระบบอิเลกทรอนิกส์ด้านใน และทำความสะอาดบริเวณผิวได้ด้วยตัวเองวิดีโอแสดงการทำงานของโทรศัพท์มือถือ Nokia Morph สามารถเข้าไปชมได้ทาง http://www.nokia.com/A4879144 ที่มา : http://www.sciencenewsdaily.org/story-123167268.html